การบวมตัวบริเวณหัวดายหรือการบวมตัวของพลาสติกอัดรีดถือได้ว่าเกิดขึ้นปรกติในกระบวนการผลิตของพลาสติกโดยเฉพาะในการอัดรีด ซึ่งพอลิเมอร์จะถูกให้แรงอัดให้ผ่านออกมาทางหัวดายเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์รูปทรงต่าง ๆ ซึ่งการบวมตัวนี้จะเกี่ยวข้องกับความยืดหยุ่นตัว ของพอลิเมอร์อันเป็นผลมาจากความสามารถของมาโครโมเลกุลที่จะหดและขยายตัว เมื่อคอยล์แบบแรนดอมของมาโครโมเลกุลเคลื่อนที่ผ่านหัวดายน์ จะเกิดการหดตัวภายหลังจากมีการขยายตัวบางส่วนเมื่ออยู่ในเครื่องทดสอบ หลังจากนั้นจึงมีการขยายตัวทั้งหมดที่บริเวณทางออกเมื่อผลกระทบจากการจำกัดตัวของแคปิลารีหมดไป ผลกระทบของการบวมตัวนี้สามารถเกิดขึ้นได้มากโดยเฉพาะในพอลิโอเลฟินส์ (พอลิเอทิลีน, พอลิพรอพิลีน) หรือเกิดขึ้นได้ต่ำ เช่น ในพอลิเอมีดและพอลิคาร์บอเนต (พอลิเอสเตอร์) ผลกระทบของการบวมตัวนี้จะมีความสำคัญต่อกระบวนการผลิตพอลิเมอร์บางประเภท โดยเฉพาะ การเป่าเข้าแบบ ซึ่งการบวมตัวที่น้อยหรือมากเกินไปจะสร้างปัญหาของการผลิตและข้อบกพร่องในผลิตภัณฑ์สุดท้ายได้ มาตรฐาน ISO 11443 ระบุถึงวิธีในการตรวจวัดค่าการบวมตัวบริเวณหัวดายน์โดยการใช้เครื่องรีโอมิเตอร์แบบแคปิลลารี
เราถูกสอบถามให้ทำการทดสอบการบวมตัวบริเวณหัวดาย ด้วยการเลือกใช้อุปกรณ์เสริมในการทดสอบการบวมตัวบริเวณหัวดายของเครื่องรีโอมิเตอร์แบบแคปิลลารี เราสามารถทำการทดสอบตัวอย่าง LLDPE ที่เติมสารแคลเซียมคาร์บอเนตได้ ในการทดสอบนั้นจะใช้ระบบเลเซอร์ที่ติดตั้งไว้ด้านล่างของหัวดายในการตรวจวัดเส้นผ่านศูนย์กลางของพลาสติกที่ไหลออกมา เมื่ออัตราการเฉือนเพิ่มมากขึ้น ปริมาณการบวมตัวจะเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน โดยจากข้อมูลพบว่าเส้นผ่านศูนย์กลางมีค่าเพิ่มขึ้น 25 % ที่อัตราการเฉือนของกระบวนการผลิต ด้วยการวัดค่าการบวมตัวบริเวณหัวดายที่อุณหภูมิต่าง ๆ ซึ่งถือได้ว่าเป็นพารามิเตอร์หลักที่ส่งผลต่อความยืดหยุ่น เราสามารถที่จะแนะนำสภาวะการผลิตที่เหมาะสมมากที่สุดเพื่อให้ได้รูปทรงของผลิตภัณฑ์สุดท้ายตามที่ต้องการ