วิธีทดสอบตามมาตรฐาน ISO 1798 ถูกใช้ในการตรวจวัดค่าความต้านทานแรงดึงสูงสุดและการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของวัสดุเซลลูลาร์แบบนิ่มเมื่อชิ้นงานทดสอบถูกดึงยืดที่อัตราการเคลื่อนที่ที่คงที่จนกระทั่งเกิดการแตกหัก
โดยหลักการแล้ว ชิ้นงานทดสอบจะถูกจับยึดระหว่างปากจับสองชุดและถูกดึงยืดให้ออกจากกันจนกระทั่งชิ้นงานเกิดการแตกหักที่อัตราการเคลื่อนที่ที่คงที่ ค่าของแรงและความเครียดจะถูกบันทึกในระหว่างการทดสอบและใช้เพื่อการคำนวณค่าความต้านทานแรงดึงสูงสุดและการยืดตัวที่จุดขาด
สำหรับการทดสอบนี้ เราใช้ อุปกรณ์จับยึดแบบ pneumatic action พร้อมกับพื้นผิวปากจับที่เคลือบด้วยยางเพื่อจับยึดวัสดุเข้ากับเครื่องทดสอบแรงดึง ถึงแม้ว่าการใช้อุปกรณ์จับยึดแบบ manual action จะเหมาะสมต่อการใช้งาน แต่ลูกค้าของเราจำนวนมากจะนิยมใช้ อุปกรณ์จับยึดแบบ pneumatic action เนื่องจากความสะดวก ประสิทธิผล และสามารถทำการทดสอบซ้ำได้ดีกว่า เนื่องจากสามารถตั้งค่าแรงดันในการจับยึดได้ ในขณะที่การใช้อุปกรณ์จับยึดแบ บ manual action นั้น แรงจับยึดจะขึ้นอยู่กับแรงของผู้ใช้งาน (ซึ่งอาจจะไม่เท่ากันทุกครั้ง) เราพบว่าแรงดันในการจับยึดและการจัดศูนย์ของชิ้นงานทดสอบมีความสำคัญอย่างมากสำหรับการทดสอบนี้ การใช้แรงดันจับยึดที่มากเกินไปจะทำให้เกิดการฉีกขาดก่อนเวลาอันควร ในขณะที่ใช้แรงดันที่ต่ำเกินไปจะส่งผลให้ชิ้นงานเลื่อนหลุดหรือฉีกขาดที่หรือใกล้กับปากจับ อุปกรณ์จับยึดนี้มักใช้งานร่วมกับเครื่องทดสอบทั้งประเภทเสาเดี่ยว หรือเสาคู่แบบตั้งโต๊ะ
สองวิธีในการตรวจวัดค่าความเครียดสามารถทำได้ โดยสามารถใช้ long traveling extensometer แบบสัมผัส ที่ติดตั้งบนชิ้นงานทดสอบ ซึ่งจะมีระบบการทำงานที่เหมาะสมในการตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงความยาวในส่วนที่กำหนดของชิ้นงานทดสอบ หรืออาจใช้ video extensometer แบบไร้สัมผัส ซึ่งจะมีระบบตรวจจับภาพที่เหมาะสมสำหรับการตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงความยาวในส่วนที่กำหนดของชิ้นงาน
เราแนะนำให้ใช้โปรแกรมทดสอบวัสดุ ตัวอย่างเช่น Bluehill ในการทำงานเพื่อป้อนข้อมูลชิ้นงานทดสอบ ตั้งค่าควบคุมการทดสอบที่เหมาะสม การคำนวณผลการทดสอบและสถิติโดยอัตโนมัติ และการสร้างรายงานผลการทดสอบที่ตรงตามข้อกำหนดตามมาตรฐานการทดสอบ
เราแนะนำให้ท่านทำความเข้าในมาตรฐาน ISO 1798 เพื่อให้เข้าใจอย่างสมบูรณ์ถึงข้อกำหนดของอุปกรณ์ฟิกซ์เจอร์และผลการทดสอบ