มาตรฐาน ISO 36 ถูกใช้งานในการวัดค่าแรงที่ใช้แยกกลุ่มของผืนผ้าที่ยึดติดด้วยยางหรือชั้นของยาง และชั้นผืนผ้าที่ยึดติดด้วยกัน โดยเป็นการประเมินค่าแรงมัธยฐานที่จุดยอดและค่าความต้านทานแรงยึดติดสูงสุดของผลิตภัณฑ์ ด้วยอัตราการเคลื่อนที่ที่กำหนด

วิธีทดสอบนี้สามารถใช้งานได้เมื่อพื้นผิวของชั้นวัสดุนั้นได้ระนาบเหรือเมื่ออยู่ในรูปทรงกระบอกที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางด้านในมากกว่า 50 มม. แต่จะไม่เหมาะสำหรับการทดสอบพื้นผิวของชั้นวัสดุที่มีการหักงอ,เป็นมุม หรือความไม่สม่ำเสมอที่ไม่สามารถแยกออกได้เมื่อตัดชิ้นงานทดสอบ

โดยหลักการแล้ว ชิ้นงานทดสอบจะถูกจับยึดด้วยอุปกรณ์จับยึดของเครื่องทดสอบ แรงถูกให้แก่ชิ้นงานทดสอบด้วยอัตราเร็วคงที่และทำให้ชิ้นงานเกิดการฉีกขาดจนเสียหาย ค่าแรงฉีกขาดนั้นถูกคำนวณจากค่าแรงที่จุดยอด มีความสำคัญที่จะต้องมีระบบจัดเก็บข้อมูลอัจฉริยะที่มีอัตราเร็วสูงเพื่อที่จะถ่ายโอนไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยอัตราเร็ว 100 Hz หรือมากกว่าเพื่อจัดเก็บและบันทึกค่าที่จุดสูงสุดและต่ำสุด

เราแนะนำให้ใช้อุปกรณ์จับยึดแบบ pneumatic action ที่มีพื้นผิวปากจับแบบเคลือบด้วยยางสำหรับการจับยึดวัสดุร่วมกับเครื่องทดสอบแรงดึง ในขณะที่การใช้อุปกรณ์จับยึดแบบ manual action นั้นสามารถใช้งานได้ แต่ลูกค้าหลายรายขอเราเลือกที่จะใช้อุปกรณ์จับยึดแบบ pneumatic action มากกว่าเนื่องจากง่ายต่อการใช้งาน. มีประสิทธิผล และสามารถทดสอบซ้ำได้ดีกว่า เนื่องจากสามารถตั้งค่าแรงดันในการจับยึดได้ ในขณะที่การใช้ manual action นั้น แรงจับยึดจะขึ้นอยู่กับแรงของผู้ใช้งาน (ซึ่งอาจจะไม่เท่ากันทุกครั้ง) เราพบว่าแรงดันในการจับยึดและการจัดศูนย์ของชิ้นงานทดสอบมีความสำคัญอย่างมากสำหรับการทดสอบนี้ การใช้แรงดันจับยึดที่มากเกินไปจะทำให้เกิดการฉีกขาดก่อนเวลาอันควร ในขณะที่ใช้แรงดันที่ต่ำเกินไปจะส่งผลให้ชิ้นงานเลื่อนหลุดหรือฉีกขาดที่หรือใกล้กับปากจับ อุปกรณ์จับยึดนี้มักใช้งานร่วมกับเครื่องทดสอบแบบเสาเดี่ยวหรือเสาคู่แบบตั้งโต๊ะ การใช้โปรแกรมทดสอบวัสดุอย่างเช่น Bluehill® 2 จะช่วยในการป้อนรายละเอียดชิ้นงานทดสอบ, ตั้งค่าควบคุมการทดสอบ, คำนวณผลการทดสอบและสถิติอย่างอัตโนมัติ และจัดทำรายงานผลการทดสอบตามข้อกำหนดของมาตรฐาน

เราแนะนำให้ศึกษามาตรฐาน ISO36 เพื่อให้เข้าใจถึงข้อกำหนดของฟิกซ์เจอร์ทดสอบและผลการทดสอบที่ต้องการอย่างสมบูรณ์

อ่านเพิ่มเติม ...