หลังคาของอาคารต่าง ๆ ถือได้ว่าเป็นพื้นผิวภายนอกที่ได้ต้องรับแรงกระแทกมากที่สุดจากวัตถุที่ปลิวเนื่องมาจากสภาพอากาศ เช่น เศษชิ้นส่วนต้นไม้ หรือน้ำแข็งเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นผิวภายนอกอื่น กระเบื้องหลังคาที่แตกร้าวจากแรงกระแทกดังกล่าวจะส่งผลให้ความชื้นสามารถที่จะแทรกซึมเข้าสู่อาคารและทำความเสียหายแก่โครงสร้างภายใน นำไปสู่การซ่อมแซมที่มีค่าใช้จ่ายสูง ถึงแม้ว่าการเพิ่มความหนาของกระเบื้องจะสามารถเพิ่มความทนทานต่อแรงกระแทก แต่นักออกแบบจะต้องคำนึงถึงน้ำหนักและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากแนวความคิดที่ง่ายเช่นนี้ ความต้านทานต่อแรงกระแทกที่ระดับพลังงานสูงและต่ำจะต้องมีการประเมินอย่างถูกต้องเพื่อที่จะสามารถออกแบบกระเบื้องได้อย่างเหมาะสมที่สุด
เราถูกสอบถามจากบริษัทผู้จัดจำหน่ายกระเบื้องหลังคาสังเคราะห์เพื่อให้ช่วยเหลือในการเลือกเครื่องทดสอบแรงกระแทกแบบมีระบบตรวจวัดอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถใช้งานในการทดสอบที่ระดับพลังงานต่ำเพื่อให้แน่ใจว่าจะมีความเสียหายระดับใดเกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท โดยลูกค้าได้จัดส่งตัวอย่างของกระเบื้องหลังคาสองรูปแบบที่แตกต่างกันที่ผลิตโดยบริษัทลูกค้า
ทั้งเครื่องทดสอบแรงกระแทกรุ่น Instron 9440 และ Instron 9450 สามารถที่จะทำการทดสอบตามที่ลูกค้าต้องการได้ โดยเราช่วยออกแบบฟิกซ์เจอร์รองรับชิ้นงานที่ออกแบบเพื่อจำลองตำแหน่งและวิธีที่กระเบื้องจะถูกติดตั้งและแนะนำให้แก่ลูกค้า ด้วยการใช้งานหัวกระแทกระบบตรวจวัดอิเล็กทรอนิกส์ขนาด 22.2 กิโลนิวตันพร้อมกับปลายหัวกระแทกทรงครึ่งวงกลมขนาด ½ นิ้ว และระบบจับเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล DAS Data Acquisition System และโปรแกรมทดสอบวัสดุ Bluehill Impact เราสามารถที่จะสร้างระดับของพลังงานที่เริ่มเกิดความเสียหายกับกระเบื้องหลังค่าที่ได้มา เราป้องกันการเกิดการกระแทกซ้ำสองบนชิ้นงานทดสอบโดยการติดตั้งระบบ Anti Rebound Device
ทั้งเครื่องทดสอบแรงกระแทกรุ่น 9340 และ 9350 ถือได้ว่ามีความเหมาะสมที่จะช่วยให้ลูกค้าสามารถประเมินประสิทธิภาพของวัสดุเมื่อตกอยู่ภายใต้แรงกระแทก ข้อมูลที่เก็บบันทึกได้โดยการทดสอบแรงกระแทกแบบใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตรวจวัดสามารถใช้ในการให้ข้อมูลพื้นฐานสำหรับลูกค้าเพื่อที่จะวิเคราะห์ว่าเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงส่วนผสมของวัตถุดิบแล้วจะส่งผลต่อสมบัติหรือการทำงานของผลิตภัณฑ์ในการใช้งานจริง นอกจากนี้ยังสามารถทำการทดสอบที่หลากหลายมากขึ้นโดยการใช้ตู้ควบคุมสภาพแวดล้อมเพื่อศึกษาความต้านทานต่อแรงกระแทกที่อุณหภูมิต่าง ๆ รวมทั้งการปรับเปลี่ยนการใช้ฟิกซ์เจอร์ต่าง ๆ เพื่อจำลองลักษณะการกระแทกต่าง ๆ ตามที่ต้องการ